วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

History and Thai dessert


History and Thai dessert


Thai dessert, put it a long country from Siam to Thailand is also a contact with foreign trade.
Such as China, India, since the Sukhothai era promotional products complement each other. As well as cultural exchange. Eating together.
Later in the Ayutthaya and Rattanakosin era. Growth has Sampantamtri widely with other countries. Thai food can take the national culture are modified to suit the local conditions. Material available. Tools. Consumption habits, as well as a Thai people, and generations do not separate out what is authentic Thai dessert is adapted from, and what other national culture such as sweets, eggs and sweets used to be into that oven. kingship in King Narai the Great King. Dame golden hoof of a horse race Japanese wife. Nationality Portuguese You will help the yen; Su, who is a regular, in contemporary Thailand. Not only for Thai and Taghiib Taghiad ฝอยทอง come. If you continue to focus on using these sweets are candy garland. Most dessert recipe. Filling is usually "outlandish" for example Taghiib Taghiad from Portugal Likely fold, from Scott.



Credit ; http://pirun.ku.ac.th/~b4941007/2.htm

บัญญัติ 10 ประการ (ของจรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต)

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการ


เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ เพื่อระลึกและ เตือนความจำเสมอ ดังนี้

1. เราต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

2. เราต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

3. เราต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น

4. เราต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5. เราต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

6. เราต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ

7. เราต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ

8. เราต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9. เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ

10. เราต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพ กฏ ระเบียบ กติกา มารยาท


จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จึงต้องมีและวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น หากปฏิบัติเช่นไรจะถูกคัดชื่อออกจากการเป็นผู้ใช้เครือข่าย อนาคตของการใช้เครือข่ายยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมสงบสุข และหากการละเมิดรุนแรง กฏหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกั

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

อ้างอิง

Arlene H. Rinaldi “The Net User Guidelines and Netiquette” Academic/Institutional Support Services, Florida Atlantic University, 1993


จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 , 2 , 3 , 4 ,

แหล่งที่มา http://www.sema.go.th/node/3890



จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (4)

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณการใช้ระบบสนทนาแบบออนไลน์

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์ หลายคำสั่ง เช่น write, talk หรือมีการสนทนาเป็นกลุ่ม เช่น irc เป็นต้น ในการเรียกหา หรือเปิดการสนทนา ตลอดจนการ สนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญ ได้แก่

- ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อ

ด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้

- ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะ

การเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้าง ปัญหาการทำงานได้

เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้

- หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ

ขอให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว

- ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกันการแทรกอารมณ์ขัน

ควรกระทำกับคนที่ รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น


จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณการใช้ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ยูสเน็ตนิวส์ บูเลตินบอร์ด


ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิวส์ ระบบ สมาชิกแจ้งข่าว หลายสมาคมบอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเลก ทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists

ผู้เสนอข่าวและผู้อภิปรายเรื่องต่างๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่น ข่าวบนยูสเน็ตนิวส์

แต่ละกลุ่ม เมื่อส่งออกจะกระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่นๆทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดานข่าวจะต้องเคารพกฏกติกา มารยาท โดยเคร่งครัด ข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่

- ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็น ไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบง่าย สุภาพ เข้าใจได้

- ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้เขียนให้ตรง โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง

- ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า

- ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอย หรือข่าวลือ หรือ

เขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ

- จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ เพราะหลายเครื่องที่ อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล

- ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อๆกันมา การเขียนข่าวจึงควร พิจารณา

ในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก

- ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า

- การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนต์ตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่ง

แอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติด ต่อได้

- ในการทดสอบการส่ง ไม่ควรทำพร่ำเพื่อ การทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่น

ที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก

- หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรใหญ่มีความหมายถึงการตะโกน หรือ การแสดงความไม่พอใจ

ในการเน้นคำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน

- ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง

- ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขัน หรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว

- ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิผู้อื่น

- ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อ และเมื่อ ส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา

- ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

- เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

เช่น IMHO - in my humble / honest opinion, FYI - for your information, BTW - by the way

- การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์ หรือความรู้สึกส่วนตัว และระลึกเสมอว่าข่าวที่

เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก

- ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าว จะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และ เมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น

- ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mbox และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้ จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมาย ส่งเข้ามามาก


จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 , 2 , 3 , 4 ,

แหล่งที่มา http://www.sema.go.th/node/3890

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (3)

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (3)
จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

- กำหนดให้ไฟล์ในโฮมไดเรกทรอรีของตนมีจำนวนต่ำที่สุด ไฟล์ต่างควรได้รับการดาวน์

โหลดมายังพีซีของตน

- ในการคัดลอกไฟล์จากของตนไปให้ผู้อื่นหรือนำไฟล์จากอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องของตน

ควรจะได้หมั่นทำการสะแกนตรวจสอบไวรัส เพื่อว่าจะได้ช่วยกันลดการกระจายของ ไวรัสลงไป

พึงระลึกเสมอว่าไฟล์ของคุณที่เก็บไว้ในเครื่องนั้นอาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่าคุณ ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บไฟล์ที่เป็นเรื่องลับเฉพาะไว้บนเครื่อง


จรรยาบรรณเกี่ยวกับการใช้ Telnet

Telnet เป็นคำสั่งบนอินเทอร์เน็ตที่ยอมให้ผู้ใช้เรียกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ อยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้มีอิสระในการเรียกคำสั่ง telnet เพื่อต่อไปยังเครื่องต่างๆได้ทั่วโลก แต่การที่จะเข้าไปใช้ใน เครื่องใดจะต้องยึดถือข้อปฏิบัติกฏระเบียบ ดังต่อไปนี้

- ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่คุณมีสิทธิหรือได้รับอนุญาตให้ ใช้ได้ จะต้อง

ไม่ละเมิดโดยการแอบขโมยสิทธิผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่นใช้บัญชีและ รหัสผ่านของผู้อื่น

- เครื่องที่ต่อรับ telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง คุณควรทำความ เข้าใจโดยการศึกษาข้อกำหนด

โดยเฉพาะเมื่อ login เข้าไปจะมีข้อความและคำชี้แจงบาง อย่างให้อ่านและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

- ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย telnet จะต้องรีบปฏิบัติงาน และใช้ด้วยเวลาจำกัด เมื่อเสร็จ ธุระแล้วให้รีบ logout

ออกจากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของ เครื่องเสมอ

- ข้อมูลที่ปรากฏบนจอภาพ หรือข้อมูลที่คุณต้องการคัดลอกมาเก็บไว้ยังเครื่องของคุณ

หรือฮาร์ดดิสบนพีซีของคุณ


จรรยาบรรณการใช้ Anonymous ftp

สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่คอยช่วยเหลือกัน และดำเนินการบริการให้กับผู้ใช้ในด้านต่างๆ โดย เฉพาะมีแหล่งข้อมูลและโปรแกรมเป็นจำนวนมากเก็บไว้ในศูนย์บริการ ftp ศูนย์บริการบนเครือข่ายเป็นจำนวน มากเป็นศูนย์บริการสาธารณะแบบ Anonymous ที่ยินยอมให้ใครก็ได้เข้ามาขอใช้บริการคัดลอกข้อมูลและเข้ามา เวลาใดก็ได้ การเรียกใช้ ftp จึงควรปฏิบัติตนดังนี้
- เมื่อเข้าสู่ศูนย์ ftp และป้อนชื่อผู้ใช้เป็น Anonymous จะต้องใส่ชื่ออีเมล์แอดเดรสตามข้อ กำหนดของแต่ละศูนย์
การที่ให้อีเมล์แอดเดรสก็เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่บอกได้ว่าผู้ใช้ บริการมีตัวตนและอ้างอิงได้
- การคัดลอกแฟ้ม ควรเลือกเฉพาะที่ใช้งานจริงเท่านั้น ไม่ควรคัดลอกแบบไม่มีการคัด เลือก
เพราะจะสร้างปัญหาในเรื่องการสื่อสารมาก ในกรณีที่ต้องการคัดลอกไฟล์ขนาด ใหญ่กว่า 1 ล้านตัวอักษร
ควรเลือกเวลาที่เป็นช่างเวลานอกราชการ เช่น ตอนเย็น หรือ กลางคืน
- การเลือกเวลา ftp ในช่วงเวลานอกงานนั้นให้ดูเวลาที่ศูนย์ ftp เป็นหลัก ไม่ใช่เวลาที่ต้น ทางที่คุณทำงานอยู่
- คดลอกแฟ้มมาเก็บไว้ในเครื่องของคุณตามขอบเขตของโควต้าที่อนุญาตให้
คุณควรรับ ผิดชอบด้วยการถ่ายโอนมายังฮาร์ดดิสต์บนพีซีของคุณ
- เมื่อต้องการหาชื่อไฟล์หรือสอบถาม Archie ให้สอบถามเป็นอีเมล์
- เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคุณ ในกรณีที่คัดลอกไฟล์มาให้ตรวจสอบดูว่าไฟล์ที่
คัดลอกมามีข้อตกลงทางด้านลิขสิทธิอย่างไร ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิถ้าเจ้าของไม่อนุญาต
และโปรแกรมใดก็ตามที่ไม่ได้ใช้ให้ลบออกจากระบบของคุณ


จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6

แหล่งที่มา http://www.sema.go.th/node/3890

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (2)

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (2)


เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จึงมีผู้พยายามรวบรวมกฏกติกามารยาท และวาง เป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette ข้อมูลและข้อความในเรื่อง

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

จรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตนี้ ได้เรียบเรียงมาจากบทความบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยฟอร์ริดาแอตแลนติก ดังนี้

จรรยาบรรณเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์เมล์และไฟล์

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่ง โดยระบบซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ระบบ ไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม หาก วิเคราะห์ต่อไปพบว่าไฟล์ที่เป็นบัฟเฟอร์ของ mbox ที่ยังไม่ได้เก็บออกเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์ระบบ หรือหากมี ผู้ใดผู้หนึ่งส่งเมล์ที่มีขนาดใหญ่มาก และเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายๆคน (ส่งแบบกระจาย) ก็จะทำให้ ระบบหยุดการทำงานได้เช่นกัน พึงระลึกเสมอว่าเครื่องที่เก็บ mbox ของแต่ละคนมิได้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คน แต่อาจ มีเป็นพันคน เป็นหมื่นคน ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย

ความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mbox) ของแต่ละคนควรจะมีความรับผิดชอบต่อสิ่งต่อไปนี้

- ตรวจสอบจดหมายทุกวัน และจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เหลือภายในโควต้าที่กำหนด

- ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสต์

- ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mbox) มีจำนวนน้อยที่สุด

- ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซี หรือฮาร์ดดิสต์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง

- พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บ ข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ได้ใช้แล้ว เสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย

เมื่อผู้ใช้ได้บัญชีชื่อในโฮสก็จะได้รับสิทธิให้ใช้พื้นที่ดิสต์ ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า โฮม ไดเรกทอรีตามโควต้าที่กำหนด ดังนั้นความรับผิดชอบของผู้ใช้ต่อพื้นที่ดิสต์ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก เพราะพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ใช้ร่วมกัน เช่น ในโฮสแห่งหนึ่งมีผู้ใช้ร่วมกันสามพันคน ถ้ากำหนดให้คนละสาม เมกะไบต์ก็จะต้องใช้พื้นที่ถึง 9 จิกะไบต์ แต่โดยความเป็นจริงแล้วโฮสมีพื้นที่ไม่ถึงเพราะถือว่าค่าเฉลี่ยของการใช้ อาจจะอยู่ที่ 1 เมกะไบต์ ดังนั้นถ้าทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและเก็บไฟล์ที่ไม่ใช้ออกก็จะทำให้ระบบมีพื้นที่ รองรับการใช้งานได้มาก


จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 , 2 , 3 , 4 ,

แหล่งที่มา http://www.sema.go.th/node/3890

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (1)

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

อาร์เร็น (Arlene H. Rinaldi 1993) ผู้รวบรวม กฏ กติกา มารยาท และวาง เป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต ได้กล่าวถึงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์ และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่น อยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกใน เครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตาม การสร้างกฎเกณฑ์ก็เพื่อให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้ รับประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดปัญหาจากผู้ใช้บางคนที่สร้างความเดือดร้อนให้
ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายใดจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายบนระบบ คอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้าใช้มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กร ที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่าง ๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่าย มีข้อมูลข่าวสารวิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารลงในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง ก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่าย อีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน คุณได้รับสิทธิให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ดีจะต้อง เข้าใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แต่ละเครือข่ายย่อยวางไว้ด้วย ไม่พึงละเมิดสิทธิหรือกระทำการใดๆ ที่สร้างปัญหา หรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อยๆนั้นอย่างเคร่งครัด
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง เช่น การส่งกระจายข่าวลือ ไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจาย ไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้ และไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จึงมีผู้พยายามรวบรวมกฏกติกามารยาท และวาง เป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette ข้อมูลและข้อความในเรื่อง

จรรยาบัญผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1 , 2 , 3 , 4 ,

แหล่งที่มา http://www.sema.go.th/node/3890